วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงงานSTEM

โครงงานสะเต็มศึกษา
หน่วยบูรณาการวิถีพอเพียง
เรื่อง ปลูกผักไร้ดิน
1. เด็กหญิง ณิชานันท์ สิงตะสุวรรณโณ   ชั้น ม.2/3        เลขที่ 27
2. เด็กหญิง ภัทรพร เพ็ชรขาว                   ชั้นม.2/3         เลขที่31
3. เด็กหญิง ชุตินันท์ นวลศรี                      ชั้นม.2/3         เลขที่21
4. เด็กชาย ภูริวัตน์ ยังอยู่                             ชั้นม.2/3         เลขที่7
5. เด็กชายศิริพงศ์ ศรีจันทร์งาม                 ชั้นม.2/3         เลขที่45

ครูประจำวิชา
กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                           :ครู นิรมล ยุระพันธ์
กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                                            :ครู สุฐิยา เพรชวงษ์
กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย                                                                                  :ครู ศุภวรรณ บุญขาว
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม            :ครู ปรีดา ช่วยปู
กลุ่มสารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา                                             :ครู จราพร เกลื้อเดช
กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ                                                                                          :ครู สุเมศ เพ็งโอ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี                           :ครู สุนันทา ดนัยสร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ                                                      :ครู จำเนียร กาญจนอารี
กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว                                                       :ครู อรพินท์ เจือกโว้น

โรงเรียน วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
รายงานนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 2/3


บทคัดย่อ
            โครงงานสะเต็มศึกษาเรื่อง ปลูกผักไร้ดิน(อาชีพเกษตรพอเพียง)  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ อาชีพเกษตรพอเพียงนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รับรู้ถึงพออยู่พอกินที่ดีและถูกต้อง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปใช้ดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้องไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป   อีกทั้งนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาอีกด้วย ส่วนประกอบของโครงงาน จะมี  บทที่1 บทนำ แนวคิดของโครงงาน วัตถุประสงค์ของโครงงาน ขอเขตของโครงงาน วิถีการดำเดินงาน ประโยชน์ที่ได้รับ นิยามศัพท์  บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง (เอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เกษตรทฤษฎีใหม่)  บทที่3 วิธีการดำเนินงานโครงงาน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน บทที่4  ผลการดำเนินงาน การนำไปใช้ บทที่5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอเสนอแนะ สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน ปัญหาและอุปสรรค์ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา บรรณานุกรม ภาคผนวก วิถีการดำเนินงาน   กำหนดหัวข้อและสำรวจดูว่าชาวเกษตรประสบปัญหาด้านใดบ้าง แล้วนำปัญหามารวบรวมและหาข้อมูล และนำสู่แนวทางการแก้ไข หลักจาการแก้ไข้แล้วจะต้องมาผลที่ได้ว่าได้ตามความเหมาะสมหรือไม่ ถ้าได้ตามความตามที่เหมาะสมแล้ว ควรทำสรุปและข้อเสนอแนะที่ถูกต้อง แล้วนำไปกระจายให้แก่ชาวเกษตรท่านอื่นได้อีกด้วย สรุปผลดำเนินงาน ในหัวข้อดังดังกล่าว เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว จะรอดูผลที่ตามมาว่ามีผลดีหรือผลเสียตามมา แล้วสรุปผลงานออกมา เพื่อที่จะได้รู้ว่า ผลที่ได้นั้นตามต้องการหรือไม่ อย่างไร แล้วจึงจะนำไปสู่ผลการสำเร็จที่ดีหรือไม่อย่างไร










กิตติกรรมประกาศ

                ขอขอบคุณครูทุกฝ่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้และคุณครูที่ปรึกษา ที่ให้ความช่วยเหลือ เกลื้อหนุน ให้ความสนับสนุน เกี่ยวกับโครงงานสะเต็มศึกษา ทั้งความรู้ทางด้านวิชาการและด้านประสบการณ์จริง และคำแนะนำที่ดีมาตลอดจนโครงงานเสร็จสมบูรณ์  และขอขอบคุณ นายเลื่อน จันทร์สุวรรณ  ที่ให้ความสนับสนุน ด้านการประสบการณ์ที่ชาวเกษตรได้ประสบพบเจอจริงๆ  และให้เข้าไปศึกษาถึงสถานที่จริง ในสวนของของลุงเลื่อน สวนที่ สนามชัย เป็นสวนที่ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานสะเต็ม ขอขอบผู้ให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างอีกมากมาย ขอบคุณทุกท่านที่ให้โครงงานสะเต็มสมบูรณ์ และหวังว่าโครงงานสะเต็มชิ้นนี้มีผลประโยชน์ต่อผู้คนไม่มากก็น้อย  หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย



















สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                                                       หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                                                               
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                              
สารบัญ                                                                                                                                                                                  ค
สารบัญตาราง                                                                                                                                                                      
สารบัญรูปภาพ                                                                                                                                                                    
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                                                       1
1.1      แนวคิดที่มาของโครงงาน                                                                                                                                 2
1.2      วัตถุประสงค์ของโครงงาน                                                                                                                               3
1.3      ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                                                        
1.4      วิธีการดำเนินการ
1.5      ประโยชน์ที่ได้รับ
1.6      นิยามศัพท์
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1      ..............................
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานโครงงาน
3.1      วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
3.2      ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
4.1      ผลการดำเนินงาน
4.2      การนำไปใช้
บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
5.1      สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
5.2      ปัญหาและอุปสรรค
5.3      ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
บรรณานุกรม
ภาคผนวก



สารบัญตาราง

หน้า
ตารางที่ 1.1.......................................................                                                                                                 1
ตารางที่ 1.2.......................................................                                                                                                 2


























สารบัญรูปภาพ

หน้า
รูปที่ 1.1.......................................................                                                                    1
รูปที่ 1.1.......................................................                                                                                                       2


























บทที่ 1
บทนำ

1.              แนวคิดที่มาความสำคัญของโครงงาน
การที่เราได้เลือกทำเรื่องการปลูกผักไร้ดินเนื่องจากว่าในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาสุขภาพจึงนิยมกินผักกันเป็นจำนวนมากแต่ผักที่เรากินเข้าในล้วนมีแต่สารเคมีต่างๆที่เป็นโทษและไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา เราจึงได้คิดว่าถ้าปลูกผักขึ้นเองจะปลอดภัยมากกว่าที่ซื้อ ไม่ต้องเสียเงินซื้อผักให้เปลือง และผักที่ปลูกรับประทานเหลือสามารถนำไปขายเพื่อสร้างอาชีพได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการพอเพียงตามหลักในหัวข้อที่ได้มา
1.              วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.1       เพื่อลดสารเคมีในผัก
1.2        เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
2.              ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน
ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน ขอบเขตของโครงงานจะนำมาสรุปเป็นเล่มรายงานเพื่อที่จะให้สะดวกต่อการนำไปใช้อย่างประหยัดและง่ายต่อการนำไปขยายให้แก่หลายๆคน
3.              ประโยชน์ที่ได้รับ
3.1       สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.2       สามารถไปเป็นแนวทางด้านต่างๆได้
3.3       สร้างงานสร้างอาชีพได้
3.4       สามารถนำมารับประทาน
3.5       นำไปขาย




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาโครงงานเรื่อง ปลูกผักไร้ดิน ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
โครงงานคืออะไร 
โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆสำหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัย หาคำตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด จะเรียกว่าโครงงานในกลุ่มสาระนั้นๆ 
สำหรับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ คือ 
1. เมื่อนักเรียนเกิดปัญหา 
2. นักเรียนก็ตอบปัญหาชั่วคราว (สมมุติฐาน) 
3. นักเรียนจะต้องออกแบบการทดลอง เพื่อพิสูจน์ปัญหาว่าจริงหรือไม่ 
4. ทำการทดลอง หรือศึกษาค้นคว้าเพื่อสรุปผล 
    4.1 ถ้าคำตอบไม่ตรงกับสมมุติฐาน ก็ตั้งสมมุติฐานใหม่ และทำข้อ 3 ข้อจนเป็นจริง 
    4.2 เมื่อคำตอบตรงกับสมมุติฐาน ก็จะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ และเกิดคำถามใหม่ 
5. นำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ 
          ในการที่นักเรียนจะทำโครงงานในกลุ่มสาระใด นักเรียนจะเป็นผู้ที่เลือกหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบ ประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการแปรผล สรุปผล และการเสนอผลงาน โดยตัวนักเรียนเอง อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง กิจกรรมที่จัดว่าเป็นกิจกรรมโครงงานจะต้องประกอบด้วย 
1. เป็นกิจกรรมที่มีเนื้อหาสาระตามกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ 
2. นักเรียนจะต้องเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามความสนใจและระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละวัย 
3. เป็นกิจกรรมที่มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยในการศึกษาค้นคว้า เพื่อตอบปัญหาที่นัก และควรเป็นไปตามระดับสติปัญญาของนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นด้วย สงสัย 
4. นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล หรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งแปรผล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น 
          ในการทำโครงงานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ควรจะมีระยะเวลา และวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
           การสอนให้นักเรียนได้เรียนการจัดทำโครงงานนั้นอกจากจะมีคุณค่าทางด้านการฝึกให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญและมีความมั่นใจ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ยังให้คุณค่าอื่นๆ คือ 
1. รู้จักตอบปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นคนที่หลงเชื่อ งมงายไร้เหตุผล 
2. ได้ศึกษาค้นคว้า หาความรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้อย่างลึกซึ้งกว่าการสอนของครู 
3. ทำให้นักเรียนได้แสดงความสามารถพิเศษของตนเอง 
4. ทำให้นักเรียนสนใจเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ มากยิ่งขึ้น 
5. นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 



















คำบรรยายภาพแบบสี่เหลี่ยม: ขนาด 16 ปกติทั้งหมดบทที่ 3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน

3.1       วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา
- ขวดน้ำพลาสติก (Plastic Bottle)
- กระบอกฉีดน้ำ ฟ็อกกี้ (Foggy Spray Bottle)
- กระดาษทิชชู่ (Tissue Paper)
- สารละลายธาตุอาหาร และ B (หรือ ปุ๋ย A B) (Hydro A&B Nutrients)
- ภาชนะเพาะเมล็ด(Seed Tray)
- เมล็ดพันธุ์(Seed)
                - แผ่นฟองน้ำ (Sponge Sheet)
- กรรไกร(Scissor)
- ไซริงค์ฉีดยา หรือ กระบอกฉีดยา (Syringe)
- กระดาษ A4 (A4 Paper)
เทปใส (Transparent Tape)





3.1      ภาพร่างในการพัฒนาชิ้นงาน













3.2       ในกรณีที่เป็นโครงงานของการสร้างวิธีการ จะเป็นการเขียนแผนผังของวิธีการ














3.3       ขั้นตอนการสร้างชิ้นงานตามแบบ
เริ่มขั้นตอนของการ ปลูกผักไร้ดิน
โดยสรุปออกมาให้ มีแค่ ขั้นตอนง่ายๆ เท่านั้น
1. เตรียมอุปกรณ์ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้พร้อม
จัดเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดให้พร้อม
2. เลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ พืชผัก ที่ต้องการจะปลูก
คำอธิบาย: Hydroponic Vegetable Seed Package on Shelf
หลังจากนั้นก็ไป ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร หรือ ตามห้างสรรพสินค้า เพื่อไปซื้อเมล็ดพันธุ์ของพืชผัก ที่ต้องการจะปลูก แนะนำให้ปลูกผัก ที่โตง่ายๆ กันก่อน
3. นำเมล็ดพันธุ์ วางบนกระดาษทิชชู่ ใส่ภาชนะเพาะเมล็ด ให้เรียบร้อย
คำอธิบาย: Hydroponic Vegetable in Bottle Seed in Tray
ขณะ เมล็ดพันธุ์ กำลัง เพาะรากอยู่ใน ภาชนะเพาะเมล็ด (Seed Tray) หากสังเกตดูดีๆ จะมี รากแก้ว (Taproot) ออกมาจากเมล็ด
นำภาชนะเพาะเมล็ด ซึ่งอาจจะเป็น กล่องพลาสติกขนาดเล็ก หรือ จานข้าวใบเล็ก เพื่อที่จะใช้เป็น ภาชนะเพาะเมล็ด ให้เกิดรากสีขาว โดยเป็นการนำ เอา เมล็ดพันธุ์วางบนกระดาษทิชชู่ที่ชุ่มน้ำ และ ควรจะต้องหาวัสดุ มาปิดกัน ป้องกันแสงเข้ามาที่ตัวเมล็ดพันธุ์
ระหว่างขั้นตอนนี้ ผู้ปลูกควรจะต้องหมั่นสังเกต ปริมาณความชุ่มชื้นของน้ำ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ลดลง เพราะมิเช่นนั้นรากอาจจะไม่งอกออกมาจากเมล็ดพันธุ์
ข้อความระวัง น้ำที่ใช้ควรจะเป็นน้ำสะอาด ที่ปราศจากสารเคมีใดๆ อาทิ น้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำ หากไม่มีเครื่องกรองน้ำ ก็สามารถใช้น้ำดื่ม ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดได้เช่นกัน ไม่ควรใช้น้ำประปา เนื่องจากมี สารคลอรีน หรือ สารเคมีอื่นๆ ในน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ให้ช้าลงได้ หรืออาจไม่โตเลยก็ได้
4. ย้ายเมล็ดพันธุ์ ไปวางบน แผ่นฟองน้ำขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่ชุ่มน้ำ
หลังจากที่ ผ่านขั้นตอนที่ ได้ประมาณ 1-3 วัน ถ้าหากเราสังเกตเห็นรากเล็กๆ ที่มีลักษณะจะเป็น รากสีขาว หรือ รากแก้ว (Taproot) งอกออกมาจากตัวของเมล็ดพันธุ์
คำอธิบาย: Hydroponic Vegetable in Bottle Seed in Sponge Sheet
เมล็ดพันธุ์ ที่มีรากแก้ว งอกออกมาแล้ว ขณะอยู่บน แผ่นฟองน้ำ ขนาด 1 x 1 นิ้ว (1 x 1 Inche Sponge Sheet)
เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ให้นำ เอา เมล็ดพันธุ์ ที่วางอยู่บนกระดาษทิชชู่ ในภาชนะเพาะเมล็ด และนำไป วางบน แผ่นฟองน้ำแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่มีร่องกากบาทแทน แต่ยังคงวางอยู่ใน ภาชนะเพาะเมล็ด เหมือนเดิม (ในส่วนของ ร่องกากบาท สามารถทำได้โดยใช้ กรรไกรบาก หรือ ทำให้มันเป็นรอย นั่นเอง) และ ฟองน้ำนี้ ก็ควรจะต้องมีความชุ่มน้ำด้วยเช่นกัน
โดยการวางเมล็ดพันธุ์ที่มีรากแก้วงอกออกมาแล้วบนฟองน้ำนั้น จะต้องวางในลักษณะ เอารากมันจุ่มลงไปในฟองน้ำ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง ให้รากแก้วจะต้องปักทิ่มทะลุฟองน้ำลงไป
ข้อความระวัง  ควรหมั่นดูปริมาณระดับน้ำในภาชนะเพาะเมล็ดพันธุ์ ให้อยู่ระดับเกินครึ่งหนึ่งของภาชนะ ระวังอย่าให้แห้ง หรือ ลดต่ำจนเกินไป ซึ่งการที่น้ำลด อาจจะเกิดได้จากทั้ง กรณีคือ
1.             น้ำระเหยออกไปในอากาศ
2.             ดูดซึมน้ำไปหล่อเหลี้ยงต้นกล้านั่นเอง
5. ย้ายต้นกล้า (เมล็ดพันธุ์ที่โตแล้วในระดับหนึ่ง) ไปใส่ในขวดน้ำพลาสติก
คำอธิบาย: Hydroponic Vegetable in Bottle Young Plant in Bottle
(5) ต้นกล้า ขณะ เพาะในขวดน้ำพลาสติก พร้อม กระดาษปิดข้างๆ ป้องกัน ตะไคร่น้ำ
หลังจากที่เราได้วางเมล็ดพันธุ์ลงในฟองน้ำ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะสังเกตเห็นว่า รากแก้ว จะทะลุผ่านฟองน้ำ ลงไปสู่ด้านล่าง และนอกจากนี้แล้ว ในช่วงนี้เรายังจะสามารถเห็น ใบเลี้ยง (Cotyledon) ผลิออกมาจากเมล็ดพันธุ์ ด้วยเช่นกัน
(ต่อจากนี้ผมขอเรียกว่า ต้นกล้า (Young Plant)” แทนคำว่า เมล็ดพันธุ์ (Seed)” แล้วนะครับ เนื่องจากมันเจริญเติบโตจนเกินกว่าที่จะเรียกว่าเมล็ดพันธุ์แล้ว)
ขั้นตอนที่กล่าวมา ตั้งแต่ย้าย เมล็ดพันธุ์ลงในฟองน้ำ  ใบเลี้ยงผลิออกมา  รากแก้วผ่านทะลุฟองน้ำลงมาข้างล่าง ทั้งหมดนี้จะกินเวลาอยู่ประมาณ สัปดาห์ (อาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่าเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของพืชที่ปลูก และ สิ่งแวดล้อมภายนอก อาทิ อากาศ ความชื้นในอากาศ แสงแดด) นั่นก็แสดงว่า ต้นกล้า ของเราโตขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว และเมื่อทุกอย่างพร้อม เราจะต้องย้ายบ้านให้กับต้นกล้า กันอีกครั้ง โดยจะต้องมีการตระเตรียมบ้านใหม่ (ขวดน้ำพลาสติก) กันสักเล็กน้อย ดังต่อไปนี้



5.1 ผสม สารละลายธาตุอาหาร และ ใส่ขวดน้ำพลาสติกรอเอาไว้ก่อน
คำอธิบาย: Hydroponic Vegetable in Bottle A and B Nutrients
ขวดสารละลายธาตุอาหาร และ B (A & B Nutrients)
ก่อนที่จะย้ายต้นกล้าลงมาในขวดน้ำนั้น เราจะต้อง เอา สารละลายธาตุอาหาร และ มาเติมลงในน้ำ เพื่อให้สารอาหาร มาหล่อเลี้ยงต้นไม้ พืชผักของเรา ให้เจริญเติบโต และ มีชีวิตต่อไป ค เช่นกัน
สำหรับการผสม สารละลายธาตุอาหาร และ นั้น จะมีอัตราส่วนการผสมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.             ประเภทของผักที่ต้องการปลูก : แน่นอนว่าผักแต่ละชนิด มีความต้องการสารละลายธาตุอาหาร ที่แตกต่างกันออกไป ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรอ่านคำแนะนำที่ขวดของสาร อย่างละเอียด และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2.             ยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ สารละลายธาตุอาหาร และ B : จุดนี้ผมไม่แน่ใจว่า ยี่ห้อของ สารละลายธาตุอาหาร และ แต่ละชนิด นั้นมีส่วนผสมของสารละลาย ที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แต่คำแนะนำคือ ควรจะ ซื้อ สารละลายธาตุอาหาร และ สารละลายธาตุอาหารที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน ไม่ควรซื้อคนละยี่ห้อ
ในส่วนนี้จะแนะนำ วิธีการผสม สารละลายธาตุอาหาร และ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างจะสำคัญ ถ้าไม่อยากให้ผักตาย และ เสียเวลาเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในขวดน้ำ ใหม่อีกครั้ง ควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะมันจะมีส่วนต่อการเจริญเติบโต ของผัก หรือ ผลผลิต ของเราเป็นอย่างมาก และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูวิธีการผสมกันเลย
1.             ขั้นแรก : หาภาชนะใส่ สารละลายธาตุอาหาร ผสมกับ สารละลายธาตุอาหาร แนะนำเป็นขวดพลาสติกธรรมดาอีก ขวด ซึ่ง
2.             ขั้นสอง : เทน้ำสะอาดลงไปในขวดน้ำให้เต็มขวด โดย น้ำสะอาดในที่นี้ อาจจะเป็นน้ำดื่ม ถ้าใครมีเครื่องกรองน้ำ ก็สามารถใช้น้ำจากเครื่องกรองน้ำได้ แต่ถ้ากลัวเปลืองเงิน สามารถใช้น้ำประปา ได้เช่นกัน แต่ถ้าใช้น้ำประปา ควรจะต้องเทน้ำใส่ขวด เปิดฝาขวดทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ สารคลอรีน ที่อยู่ในน้ำประปาระเหย ออกไปเสียก่อน
3.             ขั้นสาม : นำไซริงค์ฉีดยา ดูดสารละลายธาตุอาหาร จากขวดของมัน และ ฉีดใส่ขวดที่เตรียมไว้ ในปริมาณที่เหมาะสม แล้วทิ้งเอาไว้ชั่วโมง (หรือมากกว่านั้น) จากคำแนะนำยี่ห้อที่ผมซื้อมาคือ ใช้สารละลายธาตุอาหาร จำนวน มิลลิลิตร ต่อน้ำเปล่า ลิตร นั่นหมายความว่า ถ้าขวดภาชนะบรรจุ ของคุณมีขนาด ลิตร จะต้องเติมใส่สารละลายธาตุอาหาร เป็น เท่า นั่นก็คือ 10 มิลลิลิตร
4.             ขั้นสี่ : นำไซริงค์ฉีดยา ดูดสารละลายธาตุอาหาร จากขวดของมัน และ ฉีดใส่ขวดที่ผสม สารละลายธาตุอาหาร เตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ในอัตราส่วนที่เท่ากัน (ทำเหมือนขั้นตอนที่ คือ ใช้สารละลายธาตุอาหาร จำนวน มิลลิลิตร ต่อน้ำเปล่า ลิตร)
5.             ขั้นห้า : นำสารละลายธาตุอาหาร และ ที่ผสมกันเรียบร้อยแล้ว ไปเทใส่ลงในขวดน้ำพลาสติก ที่จะปลูก

3.4       ทดสอบและปรับปรุงชิ้นงานให้สามารถทำงานได้
หลังจากลองทำสามารถนำไปปลูกได้จริง 
3.5 รายงานปัญหาและวิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหา (ถ้ามี)
                ผักสมบูรณ์ไม่ครบทุกต้น











บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

4.1       ผลการดำเนินงาน
สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
4.2       การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระในระดับ ม.2  เรื่อง “วิถีพอเพียง”
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง “พลังงานพอเพียง”
แนวทางการบูรณาการ การใช้น้ำให้คุ้มค่าและน้อยที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง “คณิตกับชีวิตประจำวัน”
แนวทางการบูรณาการ การคำนวณปริมาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย         เรื่อง  “ภาษาสร้างสรรค์”
แนวทางการบูรณาการ การเรียบเรียงรายงาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  เรื่อง  “ธรรมะสร้างงาน”
แนวทางการบูรณาการ การมีสติในการทำชิ้นงานให้งานออกมาผิดพลาดน้อยที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง  “อยู่ดีมีสุข”
แนวทางการบูรณาการ การปลอดสารพิษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง  “ศิลป์สร้างสรรค์”
แนวทางการบูรณาการ การออกแบบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง  “ทักษะสร้างอาชีพ”
แนวทางการบูรณาการ การปลูกผัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ          เรื่อง  “English Around us”
แนวทางการบูรณาการ ได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ในชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว           เรื่อง  “แนะแนวอาชีพ”
แนวทางการบูรณาการ การปลูกผักใช้ในการขาย



บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

5.1       สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
ผักเจริญเติบโตตามที่ต้องการและสามารถในไปรับประทานได้จริง
5.2       ปัญหาและอุปสรรค
ผักบางการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นอื่น
5.3       ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
-                   หมั่นรดและใส่ปุ๋ยตามเวลาที่กำหนด
-                   ดูแลรักษาเอาใจใส่

1 ความคิดเห็น: